การปฐมพยาบาลบาดแผลที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ควรทำความสะอาดแผลโดยการล้างแผลด้วยน้ำเกลือหรือน้ำสะอาดเพื่อเอาสิ่งสกปรกออกจากบาดแผล ถ้าบาดแผลเป็นแผลสดมีเลือดไหลให้ทำการห้ามเลือดทันที สิ่งที่ควรระวังเป็นอันดับต้นๆคือเรื่องความสะอาดของแผลเพราะบาดแผลจากการถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกจะเกิดการติดเชื้อและเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
การใช้สมุนไพรรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก(Herb for Burns) มีสมุนไพรหลายชนิดที่ใช้รักษาบาดแผลชนิดนี้ได้เช่น ใบบัวบก(Tiger Herbal) สาบเสือและว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) แต่เนื่องจากการใช้สมุนไพรส่วนมากเป็นสมุนไพรสดหรือถ้าเป็นสมุนไพรแบบแห้งก็จะนำมาตำหรือฝนกับน้ำแล้วนำมาทาหรือพอกบาดแผลที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก การพอกแผลด้วยสมุนไพรนั้นต้องระวังเรื่องความสะอาดเป็นอย่างมากเพราะการนำสมุนไพรมาพอกแผลมีโอกาสทำให้เกิดการติดเชื้อโรคได้ง่าย ดังนั้นหากเป็นไปได้การเลือกใช้สมุนไพรควรเลือกสมุนไพรที่ผ่านความร้อนมาก่อนหรือเลือกใช้สมุนไพรที่ผ่านการต้มก็จะช่วยฆ่าเชื้อโรคไปได้ในระดับหนึ่ง
เมื่อผิวหนังเกิดบาดแผลหากดูแลรักษาเรื่องความสะอาดไม่ดีพอก็อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจนกลายเป็นแผลเรื้อรังได้ แผลจะมีหนองหรือหนองผสมกับน้ำเหลืองอาจเป็นตุ่มหนองแล้วแห้งกลายเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลในเวลาต่อมา การติดเชื้ออาจเกิดตรงบริเวณต่อมไขมันทำให้กลายเป็นฝีได้ เชื้อที่เป็นสาเหตุทำให้กลายเป็นแผลเรื้อรังได้เช่น Beta Steptococcus และ Staphylococus
ปัจจัยสำคัญในการดูแลรักษาแผลที่เกิดจากการติดเชื้อจนกลายเป็นแผลเรื้อรังคือ ขนาดของแผลและบริเวณที่เกิดแผลว่าเกิดแผลในบริเวณกว้างหรือเกิดแผลในจุดที่ยากต่อการดูแลเช่น บริเวณที่มีการเสียดสีหรือเคลื่อนไหวอยู่เสมอเช่น บริเวณข้อพับ ขาหนีบเป็นต้น การดูแลรักษาจะยากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเช่นโรคเบาหวาน(Diabetes Mellitus) ที่จำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ซึ่งผู้ป่วยต้องการการดูแลเป็นพิเศษเพราะการติดเชื้อในผู้ป่วยเบาหวานอาจลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้